วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

ความเป็นมาของเครือข่ายพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา


1.  ชื่อโครงการ    โครงการจัดตั้งเครือข่ายพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา
2.  ผู้รับผิดชอบโครงการ      คณะกรรมการเครือข่ายพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา
3.  หลักการและเหตุผล

พนักงานมหาวิทยาลัยได้ถูกนำมาใช้แทนระบบ ข้าราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542  ซึ่งเป็นไปตามแผนพัฒนาอุดมศึกษาที่ต้องการให้เปลี่ยนสถานภาพการบริหารเป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องความคล่องตัวในการบริหารและปัญหาสมองไหลที่ไม่สามารถดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถสูงเข้ามาทำงานได้ โดยการให้ค่าจ้างเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 70 และ 50 ของอัตราข้าราชการแรกบรรจุในปัจจุบัน รวมทั้งจัดสวัสดิการและผลประโยชน์เกื้อกูลต่างๆ ไม่น้อยกว่าระบบราชการที่เคยได้รับ 

การเปลี่ยนสถานภาพดังกล่าวได้ล่วงเลยมาเวลา 13 ปี มีสถาบันการศึกษาที่ได้เปลี่ยนสถานภาพการบริหารเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จำนวน 14 สถาบัน ยังคงเหลืออีก 65 สถาบัน ในขณะที่บุคลากรที่เข้ามาทำงานใหม่ได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยหมดแล้ว ซึ่งในความเป็นจริงพนักงานมหาวิทยาลัยกลับไม่ได้รับค่าจ้างและสวัสดิการตามหลักการที่ได้กล่าวกันไว้ เช่น การรักษาพยาบาลต้องเข้าสู่ระบบประกันสังคม ซึ่งเป็นการทำลายเกียรติยศและศักดิ์ศรีของข้าราชการในมหาวิทยาลัย และอาจเกิดผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงาน การทุ่มเทในการปฏิบัติหน้าที่ ความจงรักภักดีต่อองค์กร และคุณภาพของอุดมศึกษาในระยะยาว จึงได้รวมกลุ่มกันและได้จัดประชุมครั้งแรก เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2555 โดยได้ตกลงใช้ชื่อกลุ่มว่า เครือข่ายพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา” 

4.  วัตถุประสงค์
4.1 เพื่อเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในเรื่องสวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลต่าง ๆ ของพนักงานมหาวิทยาลัย
4.2 เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาเรื่องสวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลต่าง ๆ ของพนักงานมหาวิทยาลัยต่อผู้บริหารมหาวิทยาลัย

5.  สมาชิกเครือข่าย
               พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ

6.  สถานที่ติดต่อและสมัครเป็นสมาชิก

7  ที่ปรึกษาเครือข่ายฯ
7.1 ศาสตราจารย์ ดร.ภาวิช ทองโรจน์
7.2  ศาสตราจารย์ ดร.สุมนต์ สกลไชย

7.3 ผศ.จริยา หาสิตพานิชกุล

8.   ผลที่คาดว่าจะได้รับ
8.1 เครือข่ายพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา
8.2 การพัฒนาระบบพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา
8.3 คุณภาพการศึกษาไทย

9. สัญลักษณ์






1 ความคิดเห็น: